เมนู

ขัชชนิยวรรคที่ 3



1. อัสสาทสูตร



ว่าด้วยคุณโทษของขันธ์ 5 และอุบายสลัดออก



[149] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้
ไม่ได้สดับแล้ว จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณ โทษ ของรูป,
เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งรูป,
เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก
ผู้ได้สดับแล้ว จะรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณ โทษ ของรูป, เวทนา,
สัญญา, สังขาร, วิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งรูป, เวทนา,
สัญญา, สังขาร, วิญญาณ.
จบ อัสสาทสูตร

2. สมุทยสูตรที่ 1



ว่าด้วยการเกิดดับแห่งขันธ์ 5



[150] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้
ไม่ได้สดับแล้ว จะไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ ของรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ. และอุบาย
เครื่องสลัดออกซึ่งรูป, เวทนาม สัญญา, สังขาร, วิญญาณ. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว จะรู้ชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ ของรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร,
วิญญาณ. และอุบายเครื่องสลัดออกซึ่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร,
วิญญาณ.
จบ สมุทยสูตรที่ 1

3. สมุทยสูตรที่ 2



ว่าด้วยการรู้ ความเกิดดับแห่งขันธ์ 5



[151] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้
ได้สดับแล้ว จะรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
ของรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ. และอุบายเครื่องสลัดออก
ซึ่งรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ.
จบ สมุทยสูตรที่ 2

อรรถกถาขัชชนิยวรรค



ใน 3 สูตรแรกของขัชชนิยวรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
อริยสัจ 4 ไว้ทั้งนั้น.

4. อรหันตสูตรที่ 1



ว่าด้วยพระอรหันต์เป็นผู้เลิศในโลก



[152] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง
ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
จะเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย จะคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจะ
หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว จะมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว จะรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น